เมื่อรถของคุณเสีย มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง?
ก่อนจะขับรถไปใหนมาใหน ไม่ว่าจะใกล้ จะไกล ต้องเตรียมรถให้พร้อม นำรถเข้าศูนย์บริการเมื่อครบกำหนด ตรวจตราสภาพรถเล็กๆน้อยๆ ก่อนขับออกจากบ้าน โดยการสังเกตุสิ่งที่ผิดไปจากที่เดิมที่เคยขับ
ไม่ว่าจะเป็นเสียงมาจากรถ ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน อาการโยกๆ กระแทกปึ๊กปั๊ก... ไฟหน้าปัด โชว์เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยเห็น.....อื่นๆ บลาๆๆ
เมื่อเจอเหตุการณ์ ขับรถไปแล้วเกิดรถเสียระหว่างทาง
ตั้งสติ อย่าตกใจ
พยายามประคองการขับรถ หรือ พยายามพารถของตนเอง ให้พ้นการกีดขวางการจราจร
แก้ไขบางอย่างเฉพาะหน้า หรือเท่าที่ทำได้
เปิดไฟฉุกเฉิน แล้วเรียกเจ้าหน้าที่ หรือ ช่างที่เคยเรียกประจำ/อู่ใกล้เคียง หรือหน่วยงานที่ดูแลด้านนี้ เช่น *1808 (จส100) / 1137 (สวพ91) / 1543 (ทางด่วน) / 1193 (ตำรวจทางหลวง)
ความร้อนขึ้น
ดูจากเข็มวัดความร้อนถึงระดับ H หรือ ไฟหน้าปัดบอก อุณหภูมิระดับ H รถรุ่นเก่าจะใช้เข็มเป็นตัวบอก ส่วนรถรุ่นใหม่ๆ จะใช้บอกอุณหภูมิแบบดิจิตอล
ไฟเครื่องยนต์จะโชว์
รถจะเร่งไม่ขึ้น
สาเหตุเกิดจาก
1 หม้อน้ำ - น้ำในหม้อน้ำแห้ง / หม้อน้ำรั่ว / หม้อน้ำสกปรก อุดตัน / ฝาปิดหม้อน้ำเสื่อมสภาพ
2 ท่อน้ำต่างๆ ที่ต่อเข้าเครื่องและหม้อน้ำแตก/ซึม/รั่ว ทำให้น้ำแห้ง
3 พัดลมหม้อน้ำไม่ทำงาน หรือหมุนช้า(เสื่อม)
4 ปั๊มน้ำไม่ทำงาน
5 วาล์วน้ำ (วาล์วเปิดปิดน้ำ) ไม่ทำงาน
วิธีการแก้ไขเบื้องต้น - ห้ามเปิดฝาหม้อน้ำโดยเด็ดขาด ในขณะที่เครื่องยนต์มีความร้อนจัด ควรรอให้อุณหภูมิของเครื่องยนต์ลดลงก่อน แล้วให้เติมน้ำ ที่กระบอกพักน้ำเท่านั้น ถ้าเติมน้ำลงไปที่หม้อน้ำตรงๆ เครื่องยนต์จะได้รับความเสียหาย - ฝาสูปโกร่ง ถ้าอาการหนัก ไม่ควรขับต่อ เรียกรถให้มาลากเข้าอู่อย่างเดียวครับ
รถสตาร์ทไม่ติด
อาการคือ เมื่อกดสตาร์ท หรือ บิดกุญแจ จะมีอาการ ดังนี้
1- เสียงดังแกรกๆๆๆ ช้าๆ ตอนบิดกุญแจ ธรรมชาติของคนก็จะปิดกุญแจ แล้วเปิดใหม่ เสียงก็จะดังแกรกๆๆ ช้าๆ เหมือนไม่มีแรง ลองทำแบบนี้หลายครั้งหลายหน จนเงียบไปเลย กดหรือบิดยังไงก็ไม่ติด แสดงว่า แบตเตอรี่ เสื่อมสภาพ ไม่มีไฟ หรือมีไฟไม่พอ เนื่องจากจอดรถทิ้งไว้ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน
- เปิดฝากระโปรง ตรวจดูขั้วแบตเตอรี่ ลองเอามือขยับสายไฟที่ขั้วแบตฯ ว่ามันหลวมไหม? มีขี้เกลือขึ้นคราบสกปรกไหม? ลองเอาประแจมาเคาะๆ แล้วขันให้แน่น ลองสตาร์ทใหม่
- ถ้าไม่มีไฟขึ้นที่หน้าปัดเลย ให้หาแบตเตอรี่อื่นมาพ่วง หรือ ใช้แบตเตอรี่แบบพกพา มาช่วยในการสตาร์ท
2- เมื่อกดหรือบิดเพื่อสตาร์ทเครื่อง อาการคือไม่มีเสียงอะไรเลย ไม่มีเสียงจากมอเตอร์สตาร์ท(ไดสตาร์ท) สังเกตุไฟหน้าปัดติด ลองบีบแตรก็ดัง แต่ได ไม่ทำงาน น่าจะ...
- ระบบไฟฟ้าของรถเสียหาย สายไฟ หรือ ฟิวส์ขาด
- ไดสาตร์ทเสีย
3- เมื่อกดปุ่มสตาร์ทหรือบิดกุญแจแล้ว มีเสียงจากไดสตาร์ท เสียงแกรกๆๆ สังเกตุว่ารอบการหมุนของมอเตอร์มีความเร็วพอสมควร แต่เฟืองด้านในไม่ไปแตะเพื่อหมุนเครื่องยนต์
- ให้ลองเอาไม้แข็งๆ หรือประแจ ที่พอหาได้ และยาวพอที่จะ กระแทก หรือ เคาะ ตรงไดสตาร์ท เพื่อกระตุ้นให้มันสักหน่อย แล้วลองสาตร์ทอีกครั้ง
- ถ้าทำการเคาะ/กระแทกแล้ว ยังเหมือนเดิม คือ สาตร์ทไม่ติด ก็ต้องเรียกช่าง หรือลากเข้าอู่ โดยอาการเสียก็น่าจะเป็นที่
- ถ่านหมด ช่างก็จะเปลี่ยนถ่านใหม่ให้
- อาจจะมีมีวงจรไฟฟ้าข้างในเสีย ต้องซ่อม
- เปลี่ยนอะไหล่ที่เสียหาย เช่น ลูกปืน / ทุ่น / เฟือง
- บางที ถ้าอาการหนักๆ ช่างก็จะไม่เปลี่ยนอะไหล่ เขาอาจจะใหเปลี่ยนไดใหม่เลย
หน้าตาของไดสตาร์ทจะเป็นแบบนี้ รถแต่ละยี่ห้อก็จะมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันไป แต่ลักษณะจะออกแนวนี้เป็นท่อนกลมๆ ยาวหนึ่งอัน และสั้นหนึ่งอันวางคู่กันอยู่ ให้เอาเหล็กหรือไม้เคาะตัวที่ยาว เพื่อกระตุ้นหรือทำให้แกนข้างในมันเข้าที่
4 อาการต่อเนื่อง กรณีแบตเตอรี่ ไม่มีไฟ สาเหตุมาจาก
- แบตเตอรี่หมดอายุ (แบตฯรุ่นใหม่อายุใช้งานประมาณ 2 ปี) แบตเตอรี่ไม่เก็บไฟ
- มอเตอร์ชาร์ท หรือ ไดชาร์ท ไม่ทำงาน ชาร์ทไฟไม่เข้าแบตฯ
รอบเครื่องตก หรือ รอบเดินเบาไม่นิ่ง สดุด
อาการคือ เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์แล้ว บางจังหวะเครื่องยนต์จะเบา มีอาการสั่นๆ สังเกตุที่เกจวัดรอบ โดยปกติรอบเครื่องยนต์จะอยู่ 800-900 จังหวะที่เข็มตกลงมาต่ำอยู่ที่ขีด 600-700 เครื่องจะสั่น ถ้ามันเกิดตอนที่ขับรถอยู่ เราจะเร่งความเร็วรถไม่ได้ ความเร็วจะวูบลง บางครั้งอาการหนักหน่อย เครื่องยนต์จะดับไปเลย ซึ่งสาเหตุมาจากหลายอย่าง...พอที่จะเดาได้ จากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่บางคนอาจจะมองข้าม ดังนี้
1 กรองอากาศ สกปรกอุดตัน หรือ ใส่กรองผิดด้าน (บางรุ่นใส่ผิด จะออกอาการรอบเดินไม่นิ่ง)
2 สายดินของระบบกรองอากาศต่อไม่ครบ/ไม่แน่น หรือ ระบบแอร์โฟล์ ผิดปกติ
3 หัวเทียนหมดสภาพ
4 ปลั๊กหัวเทียน(คอยซ์) หมดสภาพ/เสีย
- กรองอากาศ ควรเปลี่ยนทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง หรือ นำออกมาเป่าทำความสะอาดบ่อยๆ
- รถยนต์ที่ใช้แก๊ส LPG/NGV ควรเปลี่ยนหัวเทียน เร็วกว่ารถใช้น้ำมัน
ถ้าอาการที่ว่ามา ได้เปลี่ยนอะไหล่ หรือ แก้ไขแล้ว แต่ยังเกิดอาการแบบนี้อีก น่าจะเกิดจากอะไหล่บางตัว เพราะบางทีมันทำงานได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ทำให้เครื่องสดุด เช่น
- ปั๊มติ๊ก หรือ ตัวดูดน้ำมันจากถังเข้ามาที่เครื่องยนต์
- ตัวกรองน้ำมันอุดตัน
- รถบางรุ่น บางยี่ห้อ จะมีอุปกร์บางอย่างที่ใช้ร่วมกันในการดูดน้ำมันเข้าเครื่องยนต์ อย่างปั๊ม AC หรืออื่นๆ
- ถ้าขับๆ อยู่ แล้วเครื่องดับไปเฉยๆ ให้ดูด้วยว่า น้ำมันหมดหรือไม่?
ของอื่นๆ ที่จำเป็นติดไว้ในรถ
นอกจาก อะไหล่/อุปกรณ์ฉุกเฉินพื้นฐานที่รถยนต์ที่ออกมาจากศูนย์จะต้องมีให้ คนใช้รถควรจะเพิ่มไว้ในรถก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก
อุปกรณ์พื้นฐานที่ติดมากับรถ
1 ยางและกระทะล้อ (ยางอะไหล่)
2 แม่แรงพร้อมเหล็กสำหรับหมุน
3 ประแจขันน๊อตล้อ และชุดประแจอื่นๆ
4 ถังดับเพลิง (บางรุ่น)
5 ป้ายฉุกเฉิน (สะท้อนแสง) (บางรุ่น)
สิ่งที่ควรติดไว้ในรถ เพิ่มเติม
1 ไฟฉาย (อันเล็กๆ และตรวจดูสภาพว่าใช้ได้หรือไม่)
2 แบตเตอรี่แบบพกพา (สำหรับรถยนต์) หรือ สายพ่วงแบตเตอรี่
3 กรรไกร/คัตเตอร์ สำหรับตัดสายเข็มขัดนิรภัย
4 ไขควง หรือ ฆ้อนเล็ก สำหรับทุบกระจก
5 เบอร์โทรช่าง/อู่ เบอร์รถยก/รถลาก
กรณีที่ต้องเดินทางในถิ่นทุรกันดาร
6 เครื่องสูบลมขนาดเล็ก
7 สายยาง (สำหรับดูดน้ำมัน)
8 สายลาก
9 ชุดเครื่องมือ(ที่จำเป็น)
เรื่องจำเป็นที่ต้องทำเกี่ยวกับรถยนต์ (เช็คสภาพรถ)
1. เปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุก 5 พัน กม. หรือ 7 พัน - หมื่น กม. กรณีใช้น้ำมันสังเคราะห์
2. เปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่องทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
3. เปลี่ยนน้ำมันเกียร์เมื่อครบ 3 หมื่น กม.
4. ยางปัดน้ำฝน เปลี่ยนเมื่อสึกหรอ (ปัดแล้วไม่รีดน้ำ)
5. เช็คน้ำกลั่นแบตเตอรี่ อย่าให้น้ำกลั่นแห้ง
6. แบตเตอรี่ ถ้ามีคราบขี้เกลือขึ้นตรงขั้ว ให้ทำความสะอาด หรือใช้น้ำร้อนเท
7. เช็คหลอดไฟทุกส่วน เช่น ไฟหน้า ไฟหรี่ ไฟท้าย ไฟเบรค ไฟเลี้ยว
8. เช็คลมยางเดือนละครั้ง
9. เช็คลมยางอะไหล่ ก่อนเดินทางไกล
10. ดูน้ำในหม้อน้ำ หรือถังพักน้ำ
1. เปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุก 5 พัน กม. หรือ 7 พัน - หมื่น กม. กรณีใช้น้ำมันสังเคราะห์
2. เปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่องทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
3. เปลี่ยนน้ำมันเกียร์เมื่อครบ 3 หมื่น กม.
4. ยางปัดน้ำฝน เปลี่ยนเมื่อสึกหรอ (ปัดแล้วไม่รีดน้ำ)
5. เช็คน้ำกลั่นแบตเตอรี่ อย่าให้น้ำกลั่นแห้ง
6. แบตเตอรี่ ถ้ามีคราบขี้เกลือขึ้นตรงขั้ว ให้ทำความสะอาด หรือใช้น้ำร้อนเท
7. เช็คหลอดไฟทุกส่วน เช่น ไฟหน้า ไฟหรี่ ไฟท้าย ไฟเบรค ไฟเลี้ยว
8. เช็คลมยางเดือนละครั้ง
9. เช็คลมยางอะไหล่ ก่อนเดินทางไกล
10. ดูน้ำในหม้อน้ำ หรือถังพักน้ำ
คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งเมื่อขับรถ
เล่าจากประสบการณ์ที่ใช้รถหลายยี่ห้อ และมีน้องทำงานอยู่ศูนย์รถยนต์
อาจจะไม่ตรงเป๊ะๆ แต่ก็พอแนะแนวทางให้ เผื่อเจอปัญหาแบบเดียวกัน ให้คิดแบบนี้ไว้ก่อน จะได้ไม่โดนช่างขี้โกง ฟันหัวแบะ....ครับ
ตอนนี้น้องอยู่ศูนย์ฮุนได...
ใครอยากจะซื้อ อยากจะซ่อมฮุนได H1 เชิญมาปรึกษากันได้ครับ
ใครอยากจะซื้อ อยากจะซ่อมฮุนได H1 เชิญมาปรึกษากันได้ครับ
ไปซ่อมที่ใหนแล้วไม่จบ มาหาเราได้ ยินดีให้บริการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น